07 สิงหาคม 2552

น้ำมัน และ วัฏจักรของคาร์บอนในโลก

Credit : www.promma.ac.th

ผมคิดว่า ทุกๆ ท่านคงรู้จัก "วัฏจักรของน้ำในโลก" อยู่บ้างนะครับ เริ่มจาก น้ำทะเลระเหยเป็นไอน้ำ รวมตัวเป็นเมฆ ควบแน่นตกเป็นฝน น้ำฝนรวมตัวเป็นแม่น้ำ ไหลกลับลงไปที่ทะเลกลายเป็นน้ำทะเลเช่นเดิม ซึ่ง วัฏจักรของน้ำ นี้มีรอบการเกิดไม่นานมากนักอาจเป็นรายวัน หรือ รายเดือน แต่ "วัฏจักรของคาร์บอนในโลก" จะกินเวลาประมาณ 250,000 ปีคร้บ ถ้าไม่มีสิ่งใดไป "เร่ง" ให้มันเร็วขึ้น

"วัฏจักรของคาร์บอน" คล้ายกับ "วัฏจักรของน้ำ" นั่นละครับ เพียงแต่ก็ไม่ได้เหมือนกัน 100% และ อาจยุ่งยากกว่านิดหน่อย แต่ส่วนที่ผมต้องการจะเน้นเพื่อการนำเสนอนั้นขอเน้นไปที่ การเกิดน้ำมัน เป็นหลักนะครับ

  1. จุดเริ่ม คือ ภูเขาไฟระเบิดปลดปล่อย CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) มากมายไปในอากาศ
  2. CO2 เหล่านั้นจะถูกดูดกลืนไปโดย พืชที่เป็นคล้ายสาหร่ายขนาดเล็กๆ เพื่อใช้ในการ "สังเคราะห์แสง" โดยพืชน้ำเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมีจำนวนมากๆ ในบริเวณนั้นจะมองเห็นน้ำขุน และเห็นน้ำเป็นสีเขียว
  3. สาหร่ายเหล่านั้นจะตายลง และจมลงสู่ก้นทะเล และเกิดการทับถมกันไปเรื่อย เป็นโคลนดำที่ก้นทะเล
  4. เมื่อแผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลง โคลนดำเหล่านั้นจะถูกแผ่นโลกกดทับ เกิดสภาพเหมือน "หม้อต้มชา" ขนาดใหญ่ โดย โคลนดำที่ว่าสามารถ กลายเป็น "น้ำมัน" ได้ที่อุณหภูมิและความดันพอเหมาะ บ่มนานเป็นเวลานานมากๆ ส่วนที่ความดันกับอุณหภูมิน้อย หรือ บ่มมาไม่นานพอ จะยังกลายเป็นหินสีดำที่สามารถติดไฟได้นิดหน่อย ซึ่งถ้าเทียบก็คงคล้ายถ่านไม้ แต่ถ้าความดันกับอุณหภูมิมากเกินไป มันจะกลายเป็น "ก๊าซธรรมชาติ" แทนครับ
  5. แต่ไม่ว่ามันจะกลายเป็นโคลนดำ หิน น้ำมัน หรือ ก๊าซธรรมชาติ ก็ตาม สุดท้ายมันก็กลับลงไปใต้พื้นโลกอีกครั้งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า มันรอเวลาปลดปล่อยกลับสู่อากาศอีกครั้งครับ

ตามที่ว่ามาก็จบ "วัฏจักรของคาร์บอน" ในแง่ของน้ำมันแล้วล่ะครับ ซึ่งเกิดมาตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตก็ว่าได้ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของโลกที่ผ่านมา ก็จะมีช่วงเวลาที่มี CO2 ในอากาศมากกับน้อยสลับกัน ไปเรื่อยๆ ครับ โดยทุกช่วงก็เกิดวัฏจักรที่ว่ามานี้ เพียงแต่ในช่วงที่มี CO2 ในอากาศมากนั้น ส่งผลดังนี้ครับ

  1. มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ CO2 ในอากาศสูงขึ้นมาก
  2. พืชน้ำดูดซีม CO2 ในทะเล และเติบโตอย่างมาก เป็นวงกว้างถึงขนาดสามารถครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกได้
  3. พืชน้ำจำนวนมหาศาลนั้น ตายลงและจมสู่ก้นทะเล โดยจะปล่อยสาร H2SO3 (ไฮโดเจนซัลไฟต์)ออกมาทำให้น้ำทะเลในบริเวณนั้นไม่เหลือ O2 (ออกซิเจน) ในน้ำเหลืออยู่เลย ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์ทะเลทั้งหมดที่หายใจโดยใช้ O2 ตายหมด และทำให้โคลนดำที่ทับถมที่ใต้ทะเลสะสมกันเป็นชั้นอย่างสวยงาม และต่อเนื่อง เนื่องจากไม่ถูกรบกวนจากสัตว์ทะเล
  4. ทะเลจะไม่มี O2 เหลืออยู่ และจะมีเพียงกลิ่นของซัลเฟอร์เท่านั้น
สิ่งที่ว่ามานี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตนับแสนปีก่อน แต่ทุกวันนี้เรากำลังเร่งวัฏจักรนี้ โดยการขุดเอา "คาร์บอน" ที่ถูกเก็บกักไว้นับล้านๆ ปีในโลกขึ้นมาเผาและปลดปล่อยมันไปในอากาศ ด้วยความเร็วกว่าที่ธรรมชาติทำนับหมื่นเท่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ

สักวันหนึ่งลูกหลานของเราที่จะได้รับผลกระทบกับ "ภาวะเรือนกระจก" ของโลกอย่างแน่นอน

อื่นๆ
  • "การหมดของน้ำมันในโลก" คือ "จุดเริ่มต้นของการเกิดน้ำมันของโลก" นั่นเอง เพียงแต่กว่ามันจะกลายเป็นน้ำมันอาจต้องใช้อีกนับหมื่น นับแสนปี
  • น้ำมันนั้นเปรียบเสมือน "การเก็บกักพลังงานจากแสงอาทิตย์" ไว้ใต้ดินมานานนับล้านปี แต่มนุษย์เรากลับนำมันมาใช้อย่างรวดเร็วเพียงในเวลาไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น โดย แท่นขุดเจาะน้ำมันแห่งแรกของโลก เกิดที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
  • ในช่วงแรกน้ำมันใช้เพื่อจุดตะเกียง เพื่อแทนที่ไขปลาวาฬที่เริ่มหาได้ยากในสมัยนั้น ภายหลังจากการเริ่มมีหลอดไฟ ทำให้เริ่มมีการหาตลาดใหม่สำหรับน้ำมันที่ขุดขึ้นมา ซึ่งก็คือ การใช้น้ำมันในรถยนต์ นั่นเอง
  • ช่วงแรกๆ เคยมีการนำน้ำมันไปทำเป็นเครื่องดื่มด้วยครับ ไม่รู้ว่ารสชาติจะเป็นอย่างไรบ้าง
Credit : http://o1l.org

1 ความคิดเห็น: