31 พฤษภาคม 2553

Welcome to TOKYO Honey TOKYO



Welcome to TOKYO - Honey TOKYO [Trailer]
Credit : prukutkin — May 21, 2010 —



Welcome to TOKYO Honey TOKYO_1
Credit : MrNiconico2010 — April 11, 2010 —



Welcome to TOKYO Honey TOKYO_2
Credit : MrNiconico2010 — April 11, 2010 —

19 พฤษภาคม 2553

โลกแห่งการลงทุนใน The Loser’s Game / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤษภาคม 2553

ในอดีต Money Game อาจจะเคยเป็น Winner’s Game แต่เมื่อเริ่มมีข้อมูลมากขึ้น มีนักลงทุนเข้ามาในตลาดมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันมีสูงขึ้น ทำให้การลงทุนกลายเป็นเรื่องของมืออาชีพ มีการซื้อขายกันมากขึ้น และผู้ที่จะเอาชนะตลาดได้น่าจะเป็นผู้ที่สร้างความผิดพลาดน้อยที่สุด

นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้นระยะนี้คงเป็นที่ทราบกันแล้ว ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเรานั้นค่อนข้างที่จะไม่แน่นอน เนื่องจากปัจจัยต่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ รวมไปถึงปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ทำให้นักลงทุนต่างเกิดความวิตกกังวลต่อปัญหาหนี้สินของกรีซและปัญหาใน เรื่องค่าเงินที่มีท่าทีว่าจะลุกลามมากขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้นักลงทุนมีการไถ่ถอนเงินลงทุนออกไปจากตลาดหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงที่ จะเกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่จะตามมาเมื่อมีขายหุ้นออกไปนั้นคือ ตลาดหุ้นมีความผันผวนกันถ้วนหน้า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงจะทำให้นักลงทุนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า....ใน เมื่อตลาดหุ้นผันผวนอย่างนี้ แล้วจะลงทุนในอะไรดี? แล้วจะลงทุนในตลาดหุ้นต่อไปได้หรือไม่....โดยเมื่อหลายวันก่อนได้มีโอกาส อ่านบทความ The Loser’s Game ที่เขียนขึ้นโดย Charles D. Ellis ซึ่ง บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อปี 1975 บทความนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบทความสำคัญที่สามารถสร้างแรงจูงใจในการ ก่อกำเนิดการลงทุนในกองทุนดัชนีหรือ Index Fund ในยุคสมัยนั้น โดยได้เมื่ออ่านแล้วก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการลงทุน จึงขออนุญาตนำมาเล่าเพื่อแบ่งปันกันความรู้กันในวันนี้

โดยบทความดังกล่าวได้เปรียบเทียบการลงทุนกับการแข่งขันไว้อย่างน่า สนใจ จึงอยากยกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบให้นักลงทุนหรือผู้อ่านนั้นได้เห็น ภาพตาม อย่างเช่น ในการเล่นกีฬาเทนนิส เรามักจะพบว่าผู้ชนะในเกมเทนนิสระดับมืออาชีพมักจะเป็นผู้ที่ทำคะแนนจากลูก Winner ได้มากกว่าผู้แพ้ เรียกว่า ผลของการแข่งขันโดยส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดยผู้ชนะ แต่ถ้ามองในภาพว่าเราแข่งเทนนิสกับเพื่อน ๆ ลักษณะการแพ้ชนะอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกลายเป็นผู้ที่ทำผิดพลาดน้อยกว่ากลายเป็นผู้ชนะ สิ่งนี้เองกลายเป็นว่าผู้แพ้เป็นผู้กำหนดผลการแข่งขัน
ขณะเดียวกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกีฬามวยอาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีเช่นเดียวกันในการกำหนด กลยุทธ์ว่าควรจะเล่นใน Winner’s Game หรือ Loser’s Game โดยช่วงยกแรก ๆ อาจจะเดินหน้าลุยเพื่อหมายว่าจะน๊อคคู่ต่อสู้ให้ได้ แต่พอยกหลัง ๆ เมื่อเรารู้สึกว่าคะแนนยกที่ผ่าน ๆ มาของเรานำแล้วก็อาจจะเลือกชกโดยเซฟตัวเอง ไม่ต้องเดินหน้าลุยมากนัก ไม่ให้โดนต่อยจนต้องล้มลงไปนับ ก็น่าจะรักษาแต้มจนชนะคะแนนได้ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นว่าผู้เล่นอาจจะใช้ กลยุทธ์ของ Winner’s Game ในช่วงยกแรก ๆ และเลือกใช้กลยุทธ์สร้างความผิดพลาดให้น้อยแบบ Loser’s Game ในช่วงยกหลัง ๆ

ด้านกีฬาฟุตบอลก็เป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่เราสามารถนำมาเปรียบเทียบ ได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าทีมใหญ่ที่แข่งในสนามเหย้าของตัวเองต้องมาเจอกับคู่แข่ง ที่เป็นทีมที่อ่อนกว่า ลักษณะเกมมักจะเป็นรูปแบบที่เน้นการบุกเพื่อทำประตูเป็นหลัก นั้นคือผลแพ้ชนะขึ้นอยู่กับว่าทีมบุกจะทำประตูได้หรือไม่

โดยรูปแบบดังกล่าวอาจจะกล่าวได้ว่าเกมฟุตบอลในกรณีข้างต้นนั้นเป็น Winner’s Game แต่อย่างไรก็ตาม ในโลกของฟุตบอลนั้นไม่มีอะไรที่แน่นอน หลาย ๆ ครั้งเรากับพบว่าทีมที่โหมบุกหนักทั้งเกมกลับกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ โดยทั้งเกมนั้นอาจจะเกิดจากความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงแค่ 1-2 ครั้ง และนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ในที่สุดเมื่อจบเกมส์การเเข่งขัน

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นหลาย ๆ ครั้งอาจจะวิเคราะห์ได้ว่าทีมที่อ่อนกว่านั้นมักจะเล่นฟุตบอลแบบเน้นเกมรับ โดยเน้นให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด แล้วอาจจะหาจังหวะสวนกลับ (Counter Attack) เพื่อพลิกเกม รูปแบบเกมดังกล่าวเป็นลักษณะของ Loser’s Game คือไม่พยายามทำอะไรที่เสี่ยงต่อการผิดพลาดอันนำไปสู่การพ่ายแพ้ได้

ในโลกของการลงทุน Charles D. Ellisนั้นเชื่อว่าใน อดีต Money Game อาจจะเคยเป็น Winner’s Game แต่เมื่อเริ่มมีข้อมูลมากขึ้น มีนักลงทุนเข้ามาในตลาดมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันมีสูงขึ้น ทำให้การลงทุนกลายเป็นเรื่องของมืออาชีพ มีการซื้อขายกันมากขึ้น เหตุการณ์ส่งผลให้ต้นทุนในการบริหารจัดการสูงขึ้นจน Money Game ไม่ใช่ Winner’s Game อีกต่อไป และผู้ที่จะเอาชนะตลาดได้นั้นน่าจะเป็นผู้ที่สร้างความผิดพลาดน้อยที่สุดคิด ดังกล่าวนั้นเราเชื่อว่ามีประโยชน์แก่นักลงทุนอย่างมหาศาลถ้าเรารู้จักปรับ ใช้ โดยเราต้องประเมินด้วยตัวเองว่าเรากำลังแข่งในฐานะอะไร และเราควรจะใช้กลยุทธ์ไหนมาต่อสู้ อย่างเช่น ถ้าเรารู้สึกว่าเราเป็น ฝ่ายได้เปรียบโดยอาจจะมีข้อมูลที่ดีกว่าเราอาจจะเลือกกลยุทธ์ของ Winner’s Game แต่ถ้าเรารู้สึกว่าเราอาจจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การเลือกกลยุทธ์ที่หลีกเลี่ยงความผิดพลาดน่าจะเป็นผลดีกว่า (Loser’s Game)

ในชีวิตของการลงทุนเชื่อว่าหลาย ๆ ครั้งนักลงทุนมักจะได้รับข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ไม่ เหมือนกัน จนส่งผลถึงการตัดสินใจการลงทุน ดังนั้นหลาย ๆ ครั้งผมเชื่อว่า Money Game น่าจะถูกเปรียบได้กับ Loser’s Game เป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นการลงทุนโดยคำนึงถึงความผิดพลาดให้น้อยที่สุดน่าจะเป็นอีก หนึ่งกลยุทธ์ที่นักลงทุนน่าจะนำเอามาปรับใช้กัน ปัจจุบันนักลงทุนไม่จำเป็นต้องบริหารจัดการพอร์ตของตัวเองโดยเลือกซื้อขาย หุ้นที่ละตัวอีกต่อไป เมื่อเรามีสินค้าประเภท ETF ที่ซื้อขายหุ้นเป็นตะกร้า อย่างเช่น TDEX (ทีเด็กซ์) หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) โดยการลงทุนใน ETF ดังกล่าวนั้น เหมือนกับการสร้าง Ready made Portfolioซึ่งจะเคลื่อนไหวไปตามภาวะตลาด

การที่เราซื้อ TDEX (ทีเด็กซ์) หรือ TFTSE (ทีฟุตซี่) นั้น จะทำให้นักลงทุนลดความเสี่ยงในเรื่องของการเลือกหุ้นรายตัว(Single Stock Risk) และการบริหารความเสี่ยง (Management Risk) ลงไปได้ นักลงทุนไม่ต้องกังวลว่าจะเลือกหุ้นผิดตัว หรือซื้อขายหุ้นผิดพลาด การลดความผิดพลาดดังกล่าวนั้นจะช่วยให้นักลงทุนมีการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น

การเลือกลงทุนในกลยุทธ์ดังกล่าวนั้นเป็นการเลือกที่จะสร้างความ ผิดพลาดจากการเลือกหุ้นรายตัวให้น้อยที่สุด เปรียบได้กับ Loser’s Game ที่เน้นผลแพ้ชนะจากการสร้างข้อผิดพลาดให้น้อยเอาไว้ก่อน โดยการลงทุนใน ETF นั้นอาจจะไม่ได้หวือหวาเหมือนกับการลงทุนในหุ้นรายตัวที่จะมี Story ให้พูดคุยกันเกือบทุกวัน หลาย ๆ ครั้งได้กำไรกันต่อวัน 5-10% แต่ความเสี่ยงที่มากขึ้นตามมาจาก Single Stock Risk ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังเช่นเดียวกัน

โดยการลงทุนใน TDEX หรือ TFTSE เป็นการลงทุนโดยอิงผลตอบแทนจากดัชนี ที่ส่วนใหญ่การเคลื่อนไหวของดัชนีต่อวันมักจะไม่มากนักโดยอาจจะเคลื่อน ไหวอยู่ในกรอบของ 1-3% เป็นหลัก แม้ว่าการลงทุนใน ETF อาจจะไม่ได้ดูหวือหวา แต่การลงทุนดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าผลตอบแทนของพอร์ต โฟลิโอของตัวเองจะเป็นไปในแนวทางเดียวกับดัชนีที่อ้างอิง และช่วยลดความเสียหายจากการเลือกหุ้นผิดตัว (Stock Selection error) ได้อีกด้วย

ดังนั้นกลยุทธ์การเลือกที่จะรักษาความผิดพลาดให้น้อยที่สุด แบบ Loser’s Game อาจจะไม่ได้ตื่นเต้นเหมือนนักลงทุนประเภท Day Trader ที่เน้นซื้อขายหุ้นรายตัวอย่างรวดเร็ว แต่อย่างน้อยก็เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเน้นผลตอบแทนตามดัชนีตลาดฯ

เราจึงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการรู้จักตัวเองก่อนเริ่มลงทุน นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเราควรจะประเมินว่าตลาดหุ้นที่เรากำลังลงไปแข่งขันนั้นเป็น Winner’s Game หรือ Loser’s Game เปรียบได้กับฟุตบอลที่หลาย ๆ ครั้งการเล่นเกมรับก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน เรายังจำทีมชาติกรีซในศึกยูโร 2004 ที่ประเทศโปรตุเกสเป็นเจ้าภาพได้ดี เมื่อทีมเล็ก ๆ อย่างทีมชาติกรีซใช้กลยุทธ์เกมรับที่มีประสิทธิภาพสามารถคว้าแชมป์โดยโค่น เจ้าภาพอย่างโปรตุเกสไปได้ หรือแม้แต่การแข่งขันเทนนิสระดับมืออาชีพในปัจจุบันก็อาจจไม่ได้เป็น Winner’s Game เสมอไปเมื่อหลาย ๆ ครั้ง เราอาจจะเห็นผู้ชนะได้คะแนนจากลูก Winner น้อยกว่าผู้แพ้เสียอีก ในเรื่องการลงทุนก็เช่นกันนักลงทุน รายย่อยเองก็ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้เหมาะกับสิ่งที่เรากำลังจะลงไปแข่งเช่น กันเราเชื่อว่านักลงทุนรายย่อยสามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ ถ้าเรารู้ว่าเรากำลังจะลงแข่งในสนาม Winner’s Game หรือ Loser’s Game...

ที่มา: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด

http://www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9530000068824

15 พฤษภาคม 2553

ปัจจัยสำคัญของการฝึกอบรม - แสงเงินแสงทอง / Bhunikar Wongbundit

ปัจจัยสำคัญของการฝึกอบรม
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

พระไตรปิฎก อันเป็นบันทึกคำสอนของพระพุ
ทธเจ้า ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
"เวลาพระอาทิตย์จะขึ้น ย่อมมีแสงเงินแสงทองขึ้นมาก่อน
เป็นนิมิตหมายว่า เดี๋ยวก็จะมีพระอาทิตย์โผล่ขึ้นท้องฟ้าให้เห็น
ข้อนี้ฉันใด ก่อนที่อริยมรรคมีองค์ 8 จะเกิดขึ้นและพัฒนาจนสมบูรณ์นั้น
ก็ย่อมมี 2 อย่างเกิดขึ้นก่อนเป็นบุพนิมิต คือ
ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ ฉันนั้น"

วันนี้ขอพูดถึงเฉพาะปัจจัยแรก คือ ปรโตโฆสะ

ปรโตโฆสะ แปลตามตัวอักษรว่า "เสียงจากคนอื่น"
เป็นศัพท์เทคนิคทางพระแท้ๆ เลย
แม้พระภิกษุสามเณรบางกลุ่มที่ไม่ ได้ศึกษาเล่าเรียนก็แปลไม่ออก
หรือแปลออกก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
ปรโตโฆสะ หมายถึง "สิ่งแวดล้อม"
ครอบคลุมถึงสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ และสิ่งแวดล้อมทางบุคคลหรือสังคม

พูดให้ชัดก็คือ ทุกอย่างที่แวดล้อมเราเรียกว่า ปรโตโฆสะ

พระพุทธศาสนาสอนว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่อการฝึกฝนอบรมมิใช่น้อย
คนเรานั้นมีแนวโน้มจะดีหรือชั่ว เพียงเพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
ถ้าเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ เหมาะ ไม่เอื้อต่อการพัฒนาตนเป็นคนดี
เขาก็อาจจะกลายเป็นคนชั่วคนเลว ได้ ตรงข้ามถ้าเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ดี
เขาก็จะเป็นคนดีที่สังคมปรารถ นาได้

คัมภีร์พุทธศาสนาได้ยกนิทานมา "สาธก"
เกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เรื่องหนึ่ง (ความจริงหลายเรื่อง แต่นึกได้เรื่องเดียว)
มีความว่า มีลูกนกแขกเต้าสองตัว ลูกพ่อแม่เดียวกัน
วันหนึ่งเกิดพายุกล้า พัดพาเอาลูกนกทั้งสองไปคนละทิศละทาง
ลูกนกตัวหนึ่งถูกลมหอบไปตกลงที่ กองอาวุธของพวกโจร
พวกโจรจึงนำมันไปเลี้ยง ตั้งชื่อมันว่า "สัตติคุมพะ" (แปลแบบไทยๆ ก็ว่า "ไอ้หอก")

อีกตัวหนึ่งลมหอบไปตกลงท่ามกลาง พุ่มไม้ใกล้อาศรมของพวกฤๅษี
พวกฤๅษีจึงนำมันไปเลี้ยงไว้ ตั้งชื่อว่า "ปุปผกะ" (แปลว่า "ไอ้ดอกไม้")

พวกโจรนั้นวันๆ ก็พูดแต่คำหยาบคาย มีแต่เรื่องฆ่าเรื่องปล้น
ไอ้หอกมันก็เลียนเสียงพูดที่หยาบ คายของพวกโจร
ส่วนพวกฤๅษีพูดไพเราะ ไอ้ดอกไม้มันก็เลียนเสียงพูดที่สุภาพไพเราะตาม

วันหนึ่งพระเจ้ากรุงปัญจาละ เสด็จไปล่าเนื้อ ติดตามด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก
เกิดพลัดหลงกับเหล่าข้าราชบริ พาร เสด็จเข้าป่าลึกไปตามลำพัง
ทรงเหน็ดเหนื่อย จึงพักผ่อนใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง พลันได้ยินเสียงมาแต่ไกลว่า
"ฆ่ามันเลย ปล้นมันเลย" ทรงตกพระทัย เหลียวซ้ายแลขวาไม่เห็นใคร
แหงนพระพักตร์ขึ้นไปยังเบื้องบ น
จึงทอดพระเนตรเห็นนกน้อยตัวหนึ่ง พูดภาษาคนแจ้วๆ ล้วนแต่คำหยาบคายทั้งนั้น

เสด็จไปได้สักระยะหนึ่งก็ลุถึง อาศรมของพวกฤาษี ขณะนั้นพวกฤๅษีไม่อยู่
มีแต่นกน้อยตัวหนึ่ง ร้องต้อนรับว่า
"ท่านผู้เจริญ พักผ่อนก่อน ท่านผู้เจริญดื่มน้ำก่อน"
ทรงนึกชมว่า นกน้อยตัวนี้พูดไพเราะจัง ไม่เหมือนตัวที่ผ่านมา

เมื่อพวกฤๅษีกลับมายังอาศรม พระเจ้ากรุงปัญจาละ จึงเล่าเรื่องนกสองตัวให้ฟั
พวกฤๅษีกล่าวว่า ความจริงนกสองตัวนี้ เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน
แต่บังเอิญว่าเติบโตในสิ่งแวดล้อม ที่แตกต่างกัน นิสัยใจคอจึงแตกต่างกันดังที่เห็น

นิทานเรื่องนี้ต้องการชี้ว่า อย่าว่าแต่คนเลย แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉาน
เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมแตกต่าง กัน ก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย

เราคงเคยสังเกตเห็นว่า สัตว์ที่เกิดในเมืองหนาว มักจะมีขนยาวหนา
ต่างจากสัตว์เมืองร้อน ด้านกายภาพ มันก็ยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพของดินฟ้าอากาศ
เรื่องนิสัยใจคอ มันก็ย่อมต่างกันไปตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกัน

พูดถึงเรื่องนี้นึกถึงหลวงพ่อปัญญา นันทะขึ้นมาได้
สมัยก่อนยังไม่เคยมีพระภิกษุไทย ไปต่างประเทศ
หลวงพ่อปัญญานันทะดูเหมือนจะเป็ นพระไทยรูปแรกที่ได้รับนิมนต์ ไปต่างประเทศ
ถัดจากหลวงพ่อปัญญานันทะมา จึงมีพระเป็นจำนวนมากได้ไปเมืองนอกเมืองนา
ถึงวันนี้มีพระไทยไปสร้างวัดสร้าง วากัน โดยเฉพาะที่อเมริกาเป็นสิบเป็น ร้อยวัดแล้ว

เหตุเกิดที่ยุโรป ท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บ
หลวงพ่อปัญญานันทะ ใส่ถุงเท้าและข้างในก็ใส่เสื้อขนสัตว์ แล้วห่มจีวรทับ
เพื่อป้องกันหนาวตามคำแนะนำของ ญาติโยมที่อยู่ที่นั่น
เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้น อาจจะปอดบวมตายได้
แต่มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งจากเมือง ไทยไปพบท่านหลวงพ่อปัญญานันทะ
จึงเรียนถามว่า "ท่านไม่รักษาวินัยหรือ"

"เจริญพร เป็นพระต้องรักษาวินัยอยู่แล้ว" หลวงพ่อตอบ

"ทำไมท่านนุ่งห่มอย่างนี้ ไม่ผิดวินัยหรือ" โยมคนนั้นซักอีก

"เจริญพร อาตมาเป็นคนนะ ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน" หลวงพ่อตอบ
แล้วต่อว่า
"สัตว์เดรัจฉานเช่นแพะแกะ อยู่เมืองหนาว ยังมีขนยาวหนา
เพื่อป้องกันหนาว คนมีปัญญากว่าสัตว์เดรัจฉานนะโยม"

เรื่องนี้ให้ "สัจธรรม" อย่างหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อคนมาก
คนเมืองร้อนไปเมืองหนาว ยังต้องรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับดินฟ้าอากาศเมืองหนา
นี้แค่ความเป็นอยู่ในชีวิตประ จำวันนะครับ
สภาพของดินฟ้าอากาศยังมีอิทธิพล ต่อคนเพียงนี้ ต่อเรื่องอื่นล่ะจะมีอิทธิพลมากแค่ไหน

ยิ่งถ้าเป็นสิ่งแวดล้อมทางบุคคล ด้วยแล้ว อิทธิพลย่อมมากกว่าสิ่งแวดล้อม ทางวัตถุหลายร้อยเท่านัก
ขอให้นึกถึง จอมโจรองคุลิมาล นึกถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา แล้วจะเห็นชัด

องคุลิมาล เดิมชื่อ อหิงสกะ (แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน)
เป็นบุตรปุโรหิตของพระเจ้าปเสน ทิโกศล เมืองสาวัตถี ได้รับการศึกษาอบรมจากพ่อแม่อย่างดี
โตมาได้เป็นศิษย์ศึกษาศิลปวิทยา อยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แห่งเมืองตักศิลา
อันเป็นมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อ มากในยุคนั้น

อหิงสกะ เป็นเด็กขยันหมั่นเพียร ตั้งอกตั้งใจเรียน เป็นเด็กมีความประพฤติดีและเรียน เก่ง
จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์มาก แต่เพราะความดีความเก่งของอหิงส กะนั้นเอง
ที่ทำให้ชีวิตเธอผันแปรจากแนวทาง ที่ควรจะเป็น

เด็กนักศึกษาคนอื่นๆ อิจฉาอหิงสกะ จึงหาทางยุยงให้อาจารย์เข้าใจอหิงสกะผิด
แรกๆ ไม่เชื่อ แต่หลายคนพูดเข้า บ่อยเข้า อาจารย์ก็เชื่อว่าอหิงสกะนั้นคิด "ล้างครู"
เป็นศิษย์อกตัญญู (ทั้งๆ ที่ไม่มีวี่แววอะไรเลย) จึงวางแผนกำจัด

สั่งให้อหิงสกะไปฆ่าคนเอานิ้วมา ให้ครบพันนิ้วแล้วจะประสิทธิ์ ประสาทวิชาชั้นยอดให้
อหิงสกะเชื่อมั่นในอาจารย์ ด้วยความอยากได้วิชาชั้นยอด
จึงไปฆ่าคนเอานิ้วมือได้หลายนิ้ว ก็ร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอไว้
จึงกลายเป็นโจร "องคุลิมาล" ในที่สุด

วิถีชีวิตขององคุลิมาลคงดิ่งลง ต่ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ได้พระพุทธองค์เสด็จมาโปรด
จนกระทั่งเลิกละความชั่ว บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์

แง่คิดจากเรื่องนี้ก็คือ อหิงสกะได้สิ่งแวดล้อมทางบุคคลไม่ดี
คืออาจารย์ทิศาปาโมกข์ไม่ได้เป็น "กัลยาณมิตร" (มิตรแท้)
ของอหิงสกะ ตรงข้ามกลับทำตัวเป็น "บาปมิตร" (มิตรชั่ว) ไป จึงชักนำให้เห็นผิดเป็นชอบ

พระเจ้าอชาตศัตรูเช่นเดียวกัน ถ้าไม่พบพระเทวทัต
วิถีชีวิตก็คงไม่หักเหจากแนวทาง ที่ควรเป็นดังที่ทราบกันแล้ว
แต่บังเอิญช่วงนั้นพระเทวทัตคิด จะปกครองสังฆมณฑลแทนพระพุทธเจ้า
ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำตามที่ตน ปรารถนา จึง "อกหัก"
คิดว่า ถ้าได้เจ้าชายอชาตศัตรูสนับสนุน แผนการก็จะสำเร็จง่ายขึ้น

จึงไปพูดเกลี้ยกล่อมอชาตศัตรู ต่างๆ นานา จนกระทั่งเจ้าชายทรงเลื่อมใส ยกให้เป็นอาจารย์
พอได้จังหวะเหมาะ จึงยุให้เจ้าชายปลงพระชนม์พระราชบิดายึดเอาราชสมบัติ
(ทั้งๆ ที่อยู่เฉยๆ อีกไม่นานก็จะได้เป็นของพระองค์อยู่แล้ว เนื่องจากพระองค์เป็นรัชทายาท)
แต่ด้วยลิ้นเล่ห์ของเทวทัต เจ้าชายก็หลงเชื่อ จนถึงกับทำ "ปิตุฆาต"
ทำอนันตริยกรรม (กรรมหนัก) ยากจะแก้ไขให้คงคืน

แม้ว่าในตอนหลัง จะเข้าไปสารภาพผิดต่อพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมแล้วก็ตาม
ก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร พระพุทธองค์ตรัสภายหลังว่า
"ถ้าอชาตศัตรูไม่ได้ทำปิตุฆาต หลังจากฟังธรรมแล้วจะบรรลุเป็นพ ระอริยบุคคลทันที
แต่เนื่องจากทำกรรมหนักถลำพลาด เกินกว่าจะแก้ไขเสียแล้ว จึงไม่ได้บรรลุอะไร"

ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะอชาตศัตรูได้สิ่งแวดล้อมทางบุคคลที่ไม่ดี
ได้พระเก๊ พระเทียม พระที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในธรรมวินัยเป็นอาจารย์
จึงถูกยุยงให้เห็นผิดเป็นชอ

พระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นนักเน้นหนา ว่า ในการฝึกฝนอบรมตนนั้น
สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญ ที่สุดที่ต้องคำนึงก่อน
ต้องจัดให้เหมาะสมให้เอื้ออำนวย แก่การฝึกฝนอบรม

- จะให้อยู่ที่ไหน ที่อยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่ (นี้คือสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ)

- จะให้อยู่กับใคร ใครเป็นผู้ให้การฝึกฝนอบรม (นี้คือสิ่งแวดล้อมทางบุคคล)

เมื่อได้สิ่งแวดล้อมดี เหมาะสม เอื้อต่อการฝึกฝนอบรมแล้ว
คนคนนั้นก็จะเดินไปสู่ความสำเร็จ ในสิ่งที่มุ่งมั่นปรารถนา

นี้แหละที่พระท่านว่า ได้สิ่งแวดล้อมดีแล้ว อริยมรรคมีองค์แปดก็จะเกิดขึ้นและพัฒนาจนสมบูรณ์

http://www.facebook.com/notes/bhunikar-wongbundit/paccay-sakhay-khxng-kar-fuk-xbrm-saeng-ngein-saengthxng/398984896543

08 พฤษภาคม 2553

Openning ดีๆ ที่น่าประทับใจ Bakemonogatari & Toradora & [MAD] K-ON



ガンダム002ndのOPでけいおん!
Credit : discaid2



[HD] Bakemonogatari OP #4 blu-ray ver. nadeko snake
Credit : akibastarjp



とらドラ! Toradora! OP アプコン HD Upconvert
Credit : tenorineko



【手描き】けいおん!でCLANNAD OPパロ
Credit : John868



sm8654745 - 機動戦士k-onガンダム・偽OP.mp4
Credit : ryunejr

งานวิจัยชี้ถึงอ่านแผนที่ไม่เก่ง ผู้หญิงถึงที่หมายไวกว่าผู้ชาย

เดลิเมล์ – แม้ถูกกล่าวหามาตลอดว่าเป็นเนวิเกเตอร์ที่แย่มาก เพราะอ่านแผนที่สู้ผู้ชายไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงไปถึงจุดหมายเร็วกว่าและหลงทางน้อยกว่าผู้ชาย เพราะช่างสังเกตจึงจำทางได้แม่นกว่า

งานวิจัยชิ้นใหม่ศึกษาจากกลุ่มชาย-หญิงจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเม็กซิโก ที่ถูกส่งไปเก็บเห็ดโดยพกอุปกรณ์ระบุพิกัดตำแหน่งด้วยดาวเทียมและอุปกรณ์ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจไปด้วย

แม้ผู้หญิงและผู้ชายกลับมาโดยเก็บเห็ดได้พอๆ กัน แต่ผู้หญิงใช้พลังงานน้อยกว่าเพราะรู้ว่ากำลังมุ่งหน้าไปไหน

แต่ผู้ชายปีนป่ายมากกว่า เดินทางไกลกว่า และใช้พลังงานมากกว่าผู้หญิง 70%

มีแนวโน้มว่าผู้หญิงจำเส้นทางได้ดีกว่าจากการใช้จุดสังเกตสำคัญและเส้นทางที่สามารถย้อนกลับทางเดิมเพื่อไปยังแหล่งที่มีเห็ดชุมที่สุด

“การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงทำได้ดีกว่า และพร้อมใช้กลยุทธ์การค้นหาที่เหมาะสมมากกว่าผู้ชาย” ลุยส์ ปาชีโก-โคบอส ผู้นำการวิจัยจากเนชันแนล ออโตโนมัส ยูนิเวอร์ซิตี้ในเม็กซิโกซิตี้กล่าว

นักวิจัยเสริมว่า ผลลัพธ์นี้เป็นจริงในการเดินซื้อผักในซูเปอร์มาร์เก็ตพอๆ กับการเก็บเห็ดในป่า

“ผู้หญิงพัฒนาสัญชาติญาณบางอย่าง และใช้วิจารณญาณได้ดีกว่า ขณะที่ผู้ชายชอบเปลี่ยนภารกิจขั้นพื้นฐานที่สุดให้กลายเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อนเกินเหตุ” เแฟรงค์ ฟิวร์ดี ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคนท์ในอังกฤษสำทับ

ผลศึกษานี้ยืนยันความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าทักษะในการค้นหาเส้นทางของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันมาช้านาน เนื่องจากบทบาทการเป็นผู้ล่าของผู้ชาย และผู้เก็บอาหารของผู้หญิง ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในยุคไพลสโตซีน ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 2.5 ล้านปีที่แล้วและสิ้นสุดลงเมื่อเกือบ 12,000 ปีที่ผ่านมา

แนวทางของผู้ชายมีประโยชน์ที่สุดสำหรับการล่าเหยื่อ ขณะที่แนวทางของผู้หญิงเหมาะสำหรับการเก็บอาหาร

งานวิจัยที่มีรูปแบบคล้ายกันที่ใช้อาสาสมัคร 140 คนของมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้ชายค้นหาของที่ซ่อนอยู่ได้ดีกว่า แต่ผู้หญิงประสบความสำเร็จมากกว่าในการทดสอบที่ต้องจำที่ตั้งของวัตถุต่างๆ

แอนนาเบลล์ บอนด์ นักปีนเขาเมืองผู้ดีที่เป็นผู้หญิงที่สามารถปีน ‘ยอดเขาทั้ง 7’ ซึ่งหมายถึงภูเขาที่สูงที่สุดในแต่ละทวีป ได้เร็วที่สุดนั้น บอกว่าผลศึกษานี้สะท้อนประสบการณ์ของนักปีนเขาชาย-หญิง

“ถ้าฉันเคยอยู่ที่ใดที่หนึ่งมาก่อน ฉันสามารถค้นหาที่นั้นได้อีกครั้งอย่างรวดเร็ว แต่ฉันไม่เชื่อทักษะการอ่านแผนที่ของตัวเอง เมื่ออยู่บนเขา ฉันจะไว้ใจให้ผู้ชายอ่านแผนที่มากกว่า เพราะเราถูกตั้งโปรแกรมมาต่างกัน

“นั่นคือเหตุผลที่ผู้ชายหลงทางในซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ผู้หญิงสามารถเดินรอบซูเปอร์มาร์เก็ตภายในไม่กี่นาที แน่นอนผู้ชายส่วนใหญ่ไม่สนใจอยากไปที่นั่นและนั่นเป็นสาหตุที่ทำให้เขาหลงอยู่บ่อยๆ”

รายงานการศึกษานี้จะตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ เอฟโวลูชัน แอนด์ ฮิวแมน บีแฮฟวิเออร์ปลายปีนี้

ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000061758