26 กรกฎาคม 2552

Great Pyramid of Giza (มหาพีระมิดแห่งกิซ่า)

ที่มาของภาพ : Wikipedia

  1. สร้างในสมัย 2500 ปีก่อนค.ศ. ในรัชสมัยของ Pharaoh Khufu
  2. ขนาด 6 สนามฟุตบอล ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กรุง Cairo, ประเทศ Egypt สร้างเพื่อเป็นทางสู่สวรรค์ของฟาโรห์
  3. การสร้างพีระมิดต้องสร้างให้เสร็จก่อนฟาโรห์สิ้นชีวิต โดยพีระมิดจะทำให้ฟาโรห์ และประชาชนของพระองค์เป็นอมตะ เพราะในความเชื่อของอียิปต์ ถ้าพีระมิดเสร็จไม่ทัน วิญญาณของฟาโรห์จะไม่ได้ขึ้นไปสถิตบนสวรรค์ และทำให้ความืดปกคลุม ดวงอาทิตย์จะลับจากอียิปต์ไปตลอดกาล
  4. ในอีกแง่หนึ่ง พีระมิด คือ สัญลักษณ์ทางการเมืองที่สำคัญ แสดงถึงอำนาจขององค์ฟาโรห์
  5. ใช้หินปูนปริมาตร 2.76 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยแต่ละก้อนหนัก 2.5 ตัน คาดว่าองค์ฟาโรห์ทรงวางแผนไว้ดีมากจึงสร้างมหาพีระมิดถัดจากแหล่งหินปูนขนาดใหญ่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร โดยยังคงมีการใช้แหล่งหินปูนนี้ในการสร้างพีระมิดในภายหลังอีกหลายแห่ง
  6. การสร้างคาดว่าใช้วิธีเก็บภาษีแรงงานจากชาวอียิปต์ หรือกำหนดให้ใน 1 ปีจะต้องมาทำงานให้ฟาโรห์ 2 เดือน เป็นการเก็บภาษีในยุคที่ยังไม่มีเงินตรา อย่างไรก็ดี ขณะสร้างพีระมิดก็ยังมีการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งถือว่าสูงมาก โดยในแต่ละวันจะได้ขนมปัง 10 ก้อน และเบียร์ 1 เหยือก
  7. เคยมีบันทึกของคนในยุคถัดจากนั้น 2,000 ปี (ก่อนค.ศ. 500 ปี) กล่าวว่า การสร้างพีระมิด ใช้แรงงานทาสนับแสน แต่จากบันทึกคาดว่าไม่ใช่ความจริง เนื่องจากข้อมูลในบันทึกนั้นไม่ตรงกับข้อมูลตามบันทึกอักษร Hieroglyph จึงคาดว่าน่าจะเป็นแค่เรื่องเล่าลือของคนยุคหลังจากสร้างพีระมิดเท่านั้นเอง
  8. การสร้างใช้เวลาประมาณ 20 ปี คาดว่าใช้แรงงานชาวอียิปต์ราว 2,000 คน โดยแบ่งเป็นคนงานสกัดหิน 1,200 คน โดยใช้สิ่วทองแดง, คนงานขนย้ายหิน 700 คน, คนงานจัดวางหินบนพีระมิด 300 คน
  9. การขนย้ายหินคาดว่าใช้ทางลาดขนาดใหญ่ โดยใช้แคร่ลากหิน ทีละ 20 คน โดยจะคอยราดน้ำที่พื้นขณะแคร่จะลากผ่านไปแต่ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีการใช้ทางลาดแบบปรกติ ซึ่งมีข้อเสียคือเมื่อพีระมิดสูงขึ้นจะต้องทำทางลาดยาวต่อไปเรื่อยๆ หรือทางลาดแบบพันรอบพีระมิดไปเรื่อยๆ แต่อาจเกิดปัญหาในการคำนวณการก่อหินซึ่งจะส่งผลให้พีระมิดเบี้ยวได้
  10. มีการแบ่งกองของคน 2,000 คนออกเป็น 2 กองๆ ละ 1,000 คนเท่ากัน และแบ่งย่อยจากกองละ 1,000 คนเป็นกลุ่มย่อยอีก กลุ่มละ 200 คน เป้าหมายคือการทำให้เกิดการทำงานแบบแข่งขันกันเอง เพราะการแข่งขันกันในการทำงานจะทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานสูงขึ้น
  11. มีการพบเมืองของคนงาน ใกล้ๆ พีระมิด มีการคำนวณว่าต้องมีคนที่ทำงานเป็นฝ่ายสนับสนุนในการสร้างพีระมิดจำนวนกว่า 25,000 คน
  12. Pyramid มีมาตั้งแต่สมัยหลายร้อยปีก่อนหน้าการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า โดยเกิดจากแนวคิดของมหาอัมมาตย์ นามว่า "ฮิมโฮเทป" ต้องการสร้างสุสานเพื่อเทิดทูนกษัตริย์ของเขา เขาจึงได้สร้าง Mastaba ซึ่งเป็นสุสานที่มีมาแต่โบราณแล้ว แต่สร้างเป็นหลายๆ ชั้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการสร้าง Pyramid

  13. ภาพ Mastaba ที่แบบปรกติซึ่งมีชั้นเดียว จาก : www.archimuse.com/

    ภาพ Mastaba ที่ถูกสร้างซ้อนกันหลายชั้น จาก : ca.geocities.com

  14. มีการค้นพบหลุมฝังศพของมารดาของฟาโรห์คูฟูใกล้ๆ มหาพีระมิด ภายในมีสภาพสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยการปล้นสุสาน เพียงแต่ไม่มีมัมมี่ของพระนาง จึงคาดว่าพระนางอาจสิ้นชีวิตก่อนหน้ามหาพีระมิดจะสร้างเสร็จ และมีการจัดพิธีฝังพระนางแล้ว แต่โดนโจรปล้นสุสานและขโมยมัมมี่ของพระนางไป ทำให้เหลืออัมมาตย์ไม่อาจทำสิ่งใดได้มากกว่าการนำโลงศพของพระนางมาฝังอย่างเรียบร้อยอีกครั้ง เรื่องนี้จึงมีผลให้ฟาโรห์คูฟูทำการย้ายห้องที่ใช้เก็บมัมมี่ของตนจากเดิมจะอยู่ใต้สุสาน ไปอยู่ที่ใจกลางสุสานแทน และวางแผนให้มีการปิดตายสุสานด้วยกลไก อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงแค่แนวคิดหนึ่งที่อาจเป็นไปได้เท่านั้น เนื่องจากไม่มีบันทึกเรื่องนี้หลงเหลือไว้เลย
  15. ห้องฝังพระศพทั้งหมดเป็นหินแกรนิต ซึ่งต้องนำมาจากเมืองทางใต้ที่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร โดยลำเลียงผ่านแม่น้ำขึ้นมา เป็นหินที่แข็งอย่างมาก จนไม่สามารถใช้สิ่วทองแดงสกัดออกมาได้เหมือนหินปูน ต้องใช้ค้อนที่ทำจากหินที่แข็งกว่าค่อยๆ ทุบตัดออกมาเท่านั้น ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบากอย่างมาก และคาดว่าสำหรับงานตัดหินต้องใช้คนอีกหลายพันคน
  16. หลังจากครองราษฎ์นาน 23 ปี ฟาโรห์คูฟูก็สิ้นพระชนม์ และทำการฝังที่มหาพีระมิดแห่งกิซ่า
  17. ที่ห้องฝังพระศพมีช่องเล็กๆ 2 ช่องทะลุออกมานอกพีระมิด โดยช่องหนึ่งชี้ไปที่ดาวนายพราน และอีกช่องหนึ่งชี้ไปที่ดาวเหนือ ซึ่งทั้งสองเป็นดาวที่สำคัญมากในสมัยอียิปต์จึงคาดว่าช่องที่ทะลุออกมา เพื่อให้วิญญาณของพระองค์ล่องลอยไปสถิตบนสวรรค์ และคอยดูแลประชาชนของพระองค์ตลอดไป

ที่มาของภาพ : www.holtzendorff.com/

ที่มาของข้อมูล : Thai PBS รายการท่องโลกกว้าง เวลา 18:00-19:00 น. ของวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น