ผมคิดว่า ทุกๆ ท่านคงรู้จัก "วัฏจักรของน้ำในโลก" อยู่บ้างนะครับ เริ่มจาก น้ำทะเลระเหยเป็นไอน้ำ รวมตัวเป็นเมฆ ควบแน่นตกเป็นฝน น้ำฝนรวมตัวเป็นแม่น้ำ ไหลกลับลงไปที่ทะเลกลายเป็นน้ำทะเลเช่นเดิม ซึ่ง วัฏจักรของน้ำ นี้มีรอบการเกิดไม่นานมากนักอาจเป็นรายวัน หรือ รายเดือน แต่ "วัฏจักรของคาร์บอนในโลก" จะกินเวลาประมาณ 250,000 ปีคร้บ ถ้าไม่มีสิ่งใดไป "เร่ง" ให้มันเร็วขึ้น
"วัฏจักรของคาร์บอน" คล้ายกับ "วัฏจักรของน้ำ" นั่นละครับ เพียงแต่ก็ไม่ได้เหมือนกัน 100% และ อาจยุ่งยากกว่านิดหน่อย แต่ส่วนที่ผมต้องการจะเน้นเพื่อการนำเสนอนั้นขอเน้นไปที่ การเกิดน้ำมัน เป็นหลักนะครับ
- จุดเริ่ม คือ ภูเขาไฟระเบิดปลดปล่อย CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) มากมายไปในอากาศ
- CO2 เหล่านั้นจะถูกดูดกลืนไปโดย พืชที่เป็นคล้ายสาหร่ายขนาดเล็กๆ เพื่อใช้ในการ "สังเคราะห์แสง" โดยพืชน้ำเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมีจำนวนมากๆ ในบริเวณนั้นจะมองเห็นน้ำขุน และเห็นน้ำเป็นสีเขียว
- สาหร่ายเหล่านั้นจะตายลง และจมลงสู่ก้นทะเล และเกิดการทับถมกันไปเรื่อย เป็นโคลนดำที่ก้นทะเล
- เมื่อแผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลง โคลนดำเหล่านั้นจะถูกแผ่นโลกกดทับ เกิดสภาพเหมือน "หม้อต้มชา" ขนาดใหญ่ โดย โคลนดำที่ว่าสามารถ กลายเป็น "น้ำมัน" ได้ที่อุณหภูมิและความดันพอเหมาะ บ่มนานเป็นเวลานานมากๆ ส่วนที่ความดันกับอุณหภูมิน้อย หรือ บ่มมาไม่นานพอ จะยังกลายเป็นหินสีดำที่สามารถติดไฟได้นิดหน่อย ซึ่งถ้าเทียบก็คงคล้ายถ่านไม้ แต่ถ้าความดันกับอุณหภูมิมากเกินไป มันจะกลายเป็น "ก๊าซธรรมชาติ" แทนครับ
- แต่ไม่ว่ามันจะกลายเป็นโคลนดำ หิน น้ำมัน หรือ ก๊าซธรรมชาติ ก็ตาม สุดท้ายมันก็กลับลงไปใต้พื้นโลกอีกครั้งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า มันรอเวลาปลดปล่อยกลับสู่อากาศอีกครั้งครับ
ตามที่ว่ามาก็จบ "วัฏจักรของคาร์บอน" ในแง่ของน้ำมันแล้วล่ะครับ ซึ่งเกิดมาตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตก็ว่าได้ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาของโลกที่ผ่านมา ก็จะมีช่วงเวลาที่มี CO2 ในอากาศมากกับน้อยสลับกัน ไปเรื่อยๆ ครับ โดยทุกช่วงก็เกิดวัฏจักรที่ว่ามานี้ เพียงแต่ในช่วงที่มี CO2 ในอากาศมากนั้น ส่งผลดังนี้ครับ
- มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ CO2 ในอากาศสูงขึ้นมาก
- พืชน้ำดูดซีม CO2 ในทะเล และเติบโตอย่างมาก เป็นวงกว้างถึงขนาดสามารถครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกได้
- พืชน้ำจำนวนมหาศาลนั้น ตายลงและจมสู่ก้นทะเล โดยจะปล่อยสาร H2SO3 (ไฮโดเจนซัลไฟต์)ออกมาทำให้น้ำทะเลในบริเวณนั้นไม่เหลือ O2 (ออกซิเจน) ในน้ำเหลืออยู่เลย ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์ทะเลทั้งหมดที่หายใจโดยใช้ O2 ตายหมด และทำให้โคลนดำที่ทับถมที่ใต้ทะเลสะสมกันเป็นชั้นอย่างสวยงาม และต่อเนื่อง เนื่องจากไม่ถูกรบกวนจากสัตว์ทะเล
- ทะเลจะไม่มี O2 เหลืออยู่ และจะมีเพียงกลิ่นของซัลเฟอร์เท่านั้น
สักวันหนึ่งลูกหลานของเราที่จะได้รับผลกระทบกับ "ภาวะเรือนกระจก" ของโลกอย่างแน่นอน
อื่นๆ
- "การหมดของน้ำมันในโลก" คือ "จุดเริ่มต้นของการเกิดน้ำมันของโลก" นั่นเอง เพียงแต่กว่ามันจะกลายเป็นน้ำมันอาจต้องใช้อีกนับหมื่น นับแสนปี
- น้ำมันนั้นเปรียบเสมือน "การเก็บกักพลังงานจากแสงอาทิตย์" ไว้ใต้ดินมานานนับล้านปี แต่มนุษย์เรากลับนำมันมาใช้อย่างรวดเร็วเพียงในเวลาไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น โดย แท่นขุดเจาะน้ำมันแห่งแรกของโลก เกิดที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
- ในช่วงแรกน้ำมันใช้เพื่อจุดตะเกียง เพื่อแทนที่ไขปลาวาฬที่เริ่มหาได้ยากในสมัยนั้น ภายหลังจากการเริ่มมีหลอดไฟ ทำให้เริ่มมีการหาตลาดใหม่สำหรับน้ำมันที่ขุดขึ้นมา ซึ่งก็คือ การใช้น้ำมันในรถยนต์ นั่นเอง
- ช่วงแรกๆ เคยมีการนำน้ำมันไปทำเป็นเครื่องดื่มด้วยครับ ไม่รู้ว่ารสชาติจะเป็นอย่างไรบ้าง
ขอบคุณค่า
ตอบลบ