22 กรกฎาคม 2552

Imagine-nation : Cooking Manga [27/05/2552]

ที่มาเว็ปไซต์ : http://www.nhk.or.jp/nhkworld/english/tv/imagine/index.html
รายการจะอยู่ในช่อง NHK World ถ้าใครมีเคเบิ้ล หรืออื่นๆ ที่ดูได้ เวลาตามเมืองไทยที่ผมเคยได้ดู คือ
วันพุธ 14:30 - 15:00 / 18:30 - 19:00 (เวลาที่ดูบ่อยสุด)
คืนวันพุธ เช้าวันพฤหัส = 02:30 - 03:0
แต่เท่าที่ดูข้อมูล คือ มีทุกๆ 4 ชั่วโมงดังนั้น คิดว่า 22:30 - 23:00 ก็คงมีเช่นกันครับ

รายละเอียดของรายการ : เป็นรายการที่แนะนำเกี่ยวกับ Manga บ้าง Anime บ้าง Game บ้าง เหมือนเป็นสกู๊ปเฉพาะของสัปดาห์นั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ หรือโปรดิวเซอร์ของ Anime มาคุย โดยจะมีการให้ข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ สำหรับผู้ต้องการศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์งานของญี่ปุ่น (แบบประหยัด) บางสัปดาห์ก็อาจไม่มีข้อมูลที่เราสนใจมาก แต่บางสัปดาห์ก็รู้สึกว่าดีจนต้องดูซ้ำ (หลังๆ เลยต้องไปขุดเครื่องวีดีโอเก่าๆ มาอัดไว้ดูซ้ำ)

ภาษา : อังกฤษ เป็นหลัก จะมีซับอังกฤษเวลาคุยญี่ปุ่น ถ้าเป็นญี่ปุ่นอย่างเดียวอาจดูได้สักครึ่งหนึ่ง เพราะเวลาคุยอังกฤษไม่มีซับญี่ปุ่น

หมายเหตุ :
1. เคเบิ้ลที่มีให้บริการแถวบ้าน เดือนละ 400 บาท มี 40-50 ช่องน่ะครับ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเคเบิ้ลของพื้นที่อื่นเป็นอย่างไรบ้าง
2. อังกฤษผม งูๆ ปลาๆ ญี่ปุ่นไม่เป็นเลย ดังนั้นแปลผิดก็ขออภัย

ตัวอย่างเช่นของสัปดาห์นี้ 27/05/52

Main Theme : Cooking Manga

1. How to explain - จะอธิบายความรู้สึกว่า อาหารในเรื่องนั้น "อร่อย" ออกมาได้อย่างไร จะสื่อถึงผู้อ่านได้อย่างไร (Feel like I can taste it) เพราะสำหรับอาหารจริงๆ นั้น เราได้เห็นอาหาร ได้สัมผัส ได้กลิ่น ได้ยินเสียงจากอาหารนั้น ได้ลิ้มรส ซึ่งเราจะรู้สึกรักอาหารโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แต่ผู้เขียนจำเป็นต้องใช้เพียงภาพ เพื่อสื่อถึงความวิเศษของอาหารนั้น

2. พิธีกรบอกว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี Manga เกี่ยวกับการทำอาหาร และมีมากมายหลายแนวทางที่ผสมผสาน

  • Houcyounin Ajihen - เป็น Cooking Manga เรื่องแรกเริ่มพิมพ์ในปี 1973
  • Cooking Papa (เขียนโดย Tochi Ueyema) - เป็นเรื่องแนวการทำอาหารของพ่อ ซึ่งมีการคิดค้นสูตรอาหารใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในเรื่องจะมีการอธิบายสูตร วัตถุดิบและเครื่องปรุง ที่ใช้ทำอาหารในเรื่องอย่างละเอียด
  • Mister Ajikko - เรื่องที่เกี่ยวพ่อครัวที่เป็นเด็ก (ในไทยใช้ชื่อเรื่อง "พ่อครัวรุ่นจิ๋ว")
  • Bambino - เรื่องการฝึกงานของหนุ่มมหาลัย ในร้านอาหารอิตาลี่
  • Kuitan - เป็นการผสมระหว่าง Cooking Manga กับ แนวนักสืบ
  • Toriko - จุดเด่นของเรื่องจะอยู่ที่ การใช้วัตถุดิบที่เป็นสัตว์ในจินตนาการ นำทำอาหาร เช่น เสือเขี้ยวดาบ เป็นต้น ซึ่งตัวเอกจะไปล่ามาเอง (เท่าที่ดูคือล่ามาเพื่อทำอาหารแล้วกินเอง ผมเห็นภาพแล้วนึกถึงเกม Monster Hunter ก่อนอย่างอื่นเลย)
  • Gokudou Meshi - เรื่องการทำอาหารของนักโทษในคุก ซึ่งรอลุ้นถึงอาหารพิเศษที่จะมีในช่วงปีใหม่
  • GU-RA-ME - เรื่องของเชฟหญิงที่ทำอาหารในยุโรป ในเรื่องนี้ พิธีกรได้เดินทางไปสัมภาษณ์ผู้เขียนบท และผู้เขียนภาพ ซึ่งจะทำงานคนละที่กัน มีจุดน่าสนใจตรงคำแนะนำของผู้เขียนภาพว่า เวลาอาหารหลายๆ ชนิดอยู่บนโต๊ะเดียวกัน เราต้องคอยระวังเรื่องสีของอาหาร เพราะภาพที่สีเข้มจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านไป และอาจทำให้ภาพนั้นเสียสมดุลย์ไป จึงต้องคอยระวังในการจัดวางอาหาร รวมไปถึงลักษณะของแสงและเงาอีกด้วย นอกจากนั้นเขาก็เล่าว่าปรกติเขาเมื่อเขาต้องเขียนภาพใน Manga เขาจะเดินทางไปให้เพื่อนของเขาที่เป็นกุ๊กทำอาหารนั้นให้ดูแล้วถ่ายภาพมาในมุมต่างๆ เพื่อใช้ในเป็นตัวอย่างในการเขียน

3. Readers have 4 Aspects ดังนี้

  1. Character feels good when eat - ภาพที่เห็นความสุขของตัวละครเวลากินอาหารนั้น ทำให้คนอ่านรู้สึกดี (ผมคิดว่าตรงจุดนี้อาจคล้ายเวลาเรามีความสุข เมื่อเห็นคนอื่นมีความสุข)
  2. "Battles" - Cooking Manga มักจะสร้างสถานการณ์ที่ต้องต่อสู้กัน
  3. Personal Growth - การเติบโตของตัวละครในเรื่อง
  4. Knowledge - ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะได้ความรู้ที่สอดแทรกในเรื่อง เช่น เรื่อง Different Ingredients, Recipe เพราะ Cooking Manga คือ การเปิดเผยโลกของผู้เชี่ยวชาญ (Explore world of craftsman) ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความน่าสนใจในการติดตามของผู้อ่าน

4. Cooking Manga เป็น Manga ที่มีผู้อ่านในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเด็กผู้ชาย ผู้หญิง หนุ่ม หรือ แก่ จึงมีใน Magazine ของญี่ปุ่นทุกๆ แบบ

5. Developing a kind of Communication with the readers - อันนี้คือคำพูดของนักเขียน Cooking Manga เรื่อง Cooking Papa ที่ไปทำอาหารให้ผู้ที่มาในงานได้ชิม เพื่อการก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของการสื่อสารเรื่องราวของ Manga ให้กับผู้อ่าน

6. With Success Story without food - นักวิจารณ์เขาบอกว่า "อย่างไรก็ดีเรื่องราวของการ์ตูนต้องสามารถประสบความสำเร็จได้ แม้จะไม่มีเรื่องอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ตาม"

Else :

1. The World god only knows - เขาว่าเรื่องนี้มาแรงมากที่ญี่ปุ่น ผมเลยต้องไปหาอ่านดู






ภาพจาก : Title: 神のみぞ知るセカイ 第01巻 / The World God Only Knows Vol.01 Author: 若木民喜 / Wakaki Tamiki



2. 7th Dragon - เขาเอา Director ที่สร้างเกมนี้ (Reiko Kodama เป็นผู้หญิงครับ) มาคุยประมาณ 5 นาทีสุดท้าย

  1. หน้าที่ของ คือ Game Director ต้องรวบรวมแนวทางของเกมที่แต่ละฝ่ายอย่างจะสร้างสรรค์ขึ้นมา ทั้งฝ่ายโปรแกรม ฝ่าย CG ฝ่ายเสียง ฝ่ายวางแผน ฝ่ายขาย และอื่นๆ เพื่อสร้างเกมที่ทุกๆ ฝ่ายอย่างสร้างสรรค์ขึ้นมาจริงๆ
  2. งานของ Game Director จะรวมไปถึง เมื่อ (1) เกมที่ทีมคนสร้างอยากสร้างเป็นอย่างนี้ (2) เกมที่ตลาดต้องการเป็นอย่างนั้น (3) เกมที่บริษัทที่จะนำเกมนี้ไปขายเป็นอย่างโน้น เราก็ต้องพยายามประสานแนวทางทั้งหมดเพื่อสร้างสรรค์เกมออกมา
  3. สุดท้าย ในฐานะที่เขาเป็นผู้หญิง เขาก็ไม่คิดจะทำเกมที่ผู้หญิงคนอื่นๆ เกลียดออกมา แม้ว่าตลาดเกมจะเป็นผู้ชาย 80% และผู้หญิง 20% ก็ตาม
ภาพจาก : เกมของ NDS ชื่อ 7th Dragon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น