29 กรกฎาคม 2552

Imagine-nation : Creator 's Interview Special [29/07/2552]

(อนึ่ง ผมจำได้ว่าสกู๊ปพิเศษนี้ถูกวนมาฉายซ้ำหลายรอบแล้ว โดยครั้งล่าสุดคือ เมื่อวันที่ 10/06/2552 โดยเท่าที่จำได้คือรายละเอียดทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ เหมือนเดิม จึงไม่ทราบว่าทำไมต้องมีการฉายซ้ำอีก จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน)

1. Tsutomu Takahashi (ผู้เขียน Jiraishin, Sky High, Sidooh)
ในการสัมภาษณ์มีการพูดถึงเรื่อง Jiraishin ว่าเป็นแนวที่เน้นความเหมือนจริงของสถานการณ์ (Reality) โดยเข้าใจว่าเป็นเรื่องของนักสืบที่ตามจับอาชญากร และเมื่อถึงจุด Climax ของเรื่องเขาก็พยายามทำให้ฆาตกรกระทำการบางอย่างที่เหมือนเป็นการระเบิดออกมา (ถ้าเข้าใจไม่ผิดรู้สึกว่าเขาจะไม่ชอบการคลี่คลายคดีที่ดูนิ่งๆ แบบเรื่องนักสืบทั่วๆ ไป)

เขาชอบความเป็น Manga ที่บางอย่างดูโอเวอร์เกินไป แต่ทุกคนก็รับได้ เช่นถ้ามีคนหมุนตัวกลางอากาศ ลงมาผ่าคนขาดเป็น 2 ซีก ถ้าเป็นหนังคนดูจะรู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็น Manga คนจะยอมรับการเป็นไปเช่นนี้ได้

เมื่อคุยถึงเรื่องการเขียน Manga เขาจึงบอกว่า เขาคิดว่า Manga นั้นจริงๆ แล้วมีแค่ "ดำ" กับ "ขาว" (Black and White) ดังนั้นเขาจึงเน้นในภาพที่ออกมา Clear ที่สุด (เข้าใจว่าเขาคงไม่ชอบแนวภาพที่มืดๆ ทึมๆ หรือลายเส้นที่เหมือนภาพร่าง ที่ต้องการสื่อถึงอารมณ์ที่สับสน หรือการเคลื่อนไหว กระมังครับ)

2. Ryoei Mikage [Game Creator] ผู้สร้าง Luminous Arc

ที่มาของภาพ www.animegamesblog.com

เขาเล่าว่าที่มาคือ เขาต้องการสร้างแนวเกมที่ผสมผสานแนวความคิดของ Foreign and Japanese RPG โดยการใช้ส่วนผสม 2 อย่างหลักๆ คือ

  1. Cute Characters ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้เล่นชาวญี่ปุ่นชื่นชอบ
  2. Battle through Network - เนื่องจากก่อนเกมนี้ยังไม่มีเกมแนววางแผนของ NDS ที่มีการสร้างกองทัพของตน แล้วจึงนำมา Link เพื่อต่อสู้กันได้ เกมนี้จึงพัฒนามาเพื่อรองรับความต้องการของนักเล่นเกมตรงจุดนี้ ซึ่งทำให้เกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก และเขายังย้ำอีกว่า "แนวคิดของมัน คือ เมื่อคุณมีกองทัพที่คุณรู้สึกว่าเจ๋งแล้ว คุณก็ต้องอยากลองเอาไปต่อสู้กับคนอื่นดู" ด้วยแนวทางนี้ ตัวเขาเองก็เชื่อมั่นตั้งแต่แรกแล้วว่าแนวทางนี้จะทำให้เกมประสบความสำเร็จซึ่งมันก็เป็นอย่างที่เขาคิด

  3. ที่มาของภาพ www.siliconera.com

ในการสัมภาษณ์มีการพูดถึง ทีมที่พัฒนาซึ่งเขาไม่ค่อยสบายใจนักที่ปัจจุบันทีมที่พัฒนาเกมใหม่ๆ ดูเหมือนจะใช้คนที่เริ่มอายุมากเกินไป และเขาเชื่อว่าแนวคิดของเขาที่ประธานบริษัทเป็นคนหนุ่ม (อายุ 27 ปี) และกลุ่มพัฒนาเกมก็เป็นคนหนุ่มด้วย (Young President and young Employees) จะทำให้แนวทางของเกมที่มีความสดใหม่มากๆ (Really Fresh Way) และมีความแตกต่างมากกว่า (Independant)

ในช่วงท้ายพิธีกรได้ถามว่า หลังเกมประสบความสำเร็จอย่างมากแล้ว ได้ส่งผลกระทบใดต่อบริษัทบ้าง ? ซึ่งเขาตอบว่าในเชิงว่าไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ดี เขาคิดว่าตัวเองเป็นอัฉริยะ จึงไม่รู้สึกว่าสิ่งใดเป็นปัญหา (ตรงนี้ ผมเลยนึกถึง 2 เรื่อง เรื่องหนึ่ง คือ เคยมีคำพูดที่ว่า "ไม่มีงานใดที่ยากและไม่มีงานใดที่ง่าย" เพราะถ้าเรารู้สึกว่างานนั้นยาก แสดงว่าเรากลัวงานนั้น และจะทำให้งานนั้นไม่สำเร็จ แต่ถ้าเรารู้สึกว่างานนั้นง่าย แสดงว่าเราเริ่มประมาทแล้วล่ะ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ ส่วนหนึ่งของเรื่อง "Kanfu Panda" ที่ว่า "ข่าวไม่มีดี ไม่มีร้าย มีเพียงแต่ข่าวธรรมดา" ซึ่งหมายถึงข่าวจะดีหรือร้ายขึ้นกับใจของผู้ที่รับข่าว ถ้าใจเรานิ่งและปล่อยวาง ข่าวก็จะเป็นเพียงแค่ข่าวธรรมดา)

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเกม World Destruction และ Arcrise Fantasia

3. Hanayo Hanatsu (ผู้เขียน Virgin House, CA to Oyobi !,Tatakae ! WAC chan)(โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าบทสัมภาษณ์ของเธอน่าสนใจมากที่สุดใน 4 คนแล้วล่ะครับ)


ที่มาของภาพ www.pantip.com

  • ผู้เขียนเล่าว่าเธอรู้สึกเกลียดและอิจฉา คนที่ใช้ความสวยของตนเป็นเครื่องมือในการทำงาน และหลังจากที่เธอศึกษาแนวทางต่างๆ แล้ว เธอพบว่ามันจะน่าสนใจกว่าถ้าเธอไม่เขียนเรื่องของเธอเอง นั่นทำให้เธอลองศึกษาเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของ CA หรือ Cabin Attendant (แปลตรงตัว คือ ผู้ดูแลผู้โดยสารบนเครื่องบิน คิดว่าในเมืองไทยเรียกว่า แอร์โฮสเตจ นั่นเอง) โดยวิธีหาข้อมูลก็คือ เธอจะติดต่อพูดคุยกับกับผู้หญิงที่ทำงาน CA หลายๆ คน โดยไม่ใช่การติดต่อผ่านบริษัท แต่จะเป็นการชวนกันไปดื่ม เพื่อให้รูปแบบการพูดคุยเป็นไปในแบบไม่เป็นทางการ แล้วพอพวกเธอเริ่มเมา ก็จะเริ่มคุยกันในเรื่องแปลกๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานของพวกเธอ ซึ่งมันน่าสนใจมากๆ
  • เรื่อง Tatakae ! WAC chan ซึ่งเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทำงานอยู่ใน SDF (กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น) ซึ่งเธอเกิดความสนใจ เพราะมีผู้หญิงที่ทำงานในหน่วยงานนี้น้อยมาก
  • ส่วนสาเหตุที่เธอเขียน Manga นั้นเป็นเพราะว่า "เธอต้องการเป็นที่สนใจของผู้คน (Popular) และเป็นที่รักของคนจำนวนมาก (I want to be loved by many people.)" และทุกวันนี้ เธอก็รู้สึกว่าการกำหนดเส้นแบ่งระหว่างงานกับงานอดิเรก (Line between work and hobby) ของเธอนั้น ดูเหมือนจะทำได้ยากแล้ว
  • เธอเล่าให้ฟังด้วยว่าบางครั้งเมื่อเขียนเรื่องต่างๆ เช่นเรื่อง Tatakae ! WAC chan ซึ่งเกี่ยวกับกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น เธอก็จะเปลี่ยนชุดเป็นชุดลายพรางของทหารด้วย หรือถ้าเป็นเรื่อง CA to Oyobi ! ซึ่งเกี่ยวกับแอร์โฮสเตจ เธอก็มีชุดแอร์โฮสเตจไว้เปลี่ยนมาใส่ตอนเขียนเหมือนกัน สุดท้าย เธอบอกว่า Manga ของเธอเป็นงานเขียนในมุมมองของผู้หญิง (Woman Perspective)

4. Tetsuro Kodama (ทำอนิเมชั่นหลายเรื่อง เช่น My Home, Home Athlon)

ตัวเขาชอบทำผลงานที่ออกไปในแนวเสียดสีสังคม (Social Satire) อย่างเช่นเรื่อง My Home ก็มาจากการที่เขาเห็นคนที่ไร้ที่อยู่อาศัยสร้างที่พักของตนตามที่ต่างๆ เพื่อใช้เป็นบ้าน แล้วเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ทางการก็จะเข้ามาทำลายที่อยู่อาศัยที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งตัวเจ้าของบ้านก็ไม่ได้มีปัญหาหรือยินดียินร้ายแต่อย่างใด เขาจึงต้องการสื่อในเรื่อง My Home ซึ่งแทนที่จะสร้างแค่ที่พักชั่วคราวลวกๆ เหมือนทั่วไป กลุ่มตัวเอกกลับสร้างบ้านที่เหมือนบ้านจริงๆ ในป้ายโฆษณา "Dream Home" ที่มีในเรื่อง แล้วภายหลังจากสร้างเสร็จอย่างสวยงามก็ถูกทำลายลง เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงความรู้สึกของคนไร้ที่อยู่อาศัยเหล่านี้

ผู้ให้สัมภาษณ์ได้บอกว่าเขาตั้งใจจะสร้างงานที่ "เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี แล้วเขาหันกลับมามองผลงานที่เขาทิ้งเป็นรอยเท้าเอาไว้ แล้วเขาจะรู้สึกมีความสุขกับมัน" เขาพยายามจะสร้างผลงานภายใต้มุมมองที่เขาเชื่อมั่นไปอย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น